โรคติดต่อของแมว

โรคติดต่อแมว

ในการทำวัคซีนทุกชนิด ควรทำในแมวที่มี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เนื่องจากการทำวัคซีนอาจไม่ได้ผลหากแมวนั้นมีการติดเชื้อ หรืออยู่ในระหว่างการฟักตัวของโรคใดๆอยู่ก่อน รวมทั้งมีภาวะขาดอาหาร ติดพยาธิ มีความเครียดเนื่องจากการขนย้าย อยู่อย่างหนาแน่น หรือจากสภาพแวดล้อมอื่นๆมีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน หรือมีการใช้วัคซีนไม่ถูกต้องตามคำแนะนำในฉลาก

โรคที่มีความสำคัญในแมว

โรคไข้หัดแมว หรือโรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว
เกิดจาก เชื้อไวรัส มีการแพร่ระบาดได้รวดเร็วและรุนแรง และเชื้อสามารถคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน โดยมีการปล่อยเชื้อออกมากับอุจจาระได้นานถึง 6 สัปดาห์ ติดต่อได้โดยตรงจากแมวที่เป็นโรคนี้ได้รับเชื้อที่ออกมากับอุจจาระ หรือสัมผัสกับสิ่งที่ปนเปื้อนอุจจาระของแมวที่มีเชื้อนี้ อาการที่พบ คือ ซึม เบื่ออาหาร มีไข้ ต่อมาจะมีอาเจียน ท้องเสีย แท้ง หรือให้กำเนิดลูกแมวที่ติดเชื้อ (ลูกแมวอาจมีอาการทางประสาท) แสดงสภาวะขาดน้ำ อ่อนเพลีย ตัวสั่น เดินไม่ตรง และอาจเสียชีวิตใน 1 สัปดาห์
การรักษา : รักษาตามอาการ และให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันโรคจากเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
การป้องกัน : ทำวัคซีน (ในลูกแมวที่ไม่ได้ทำวัคซีน จะมีอาการรุนแรงและตายได้) พบได้ในแมวทุกช่วงอายุ อัตราการเสียชิวิตในลูกแมวสูงถึง 75%

โรคระบบทางเดินหายใจในแมว
โรคนี้มีการระบาดสูง แมว 40-50% มีการติดเชื้อนี้ในระบบทางเดินหายใจ โดยแมวที่ติดเชื้อ 80% จะเป็นพาหะและปล่อยเชื้อออกมากับน้ำมูกและน้ำตาโดยเฉพาะเวลาเครียด ติดต่อได้ทางการหายใจ แต่งขนให้กัน หรือทางการสัมผัสโดยตรงกับแมวทีมีเชื้อนี้ อาการคือ มีน้ำมูกและน้ำตาใสๆต่อมาจะข้นเหนียวและมีหนอง จาม มีไข้ เยื่อตาอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ มีน้ำลายมาก มีแผลหลุมที่ด้านหลังของปากและเพดานอ่อน เบื่ออาหาร ซึม ขนหยาบกร้าน แท้ง อัตราการตายในลูกแมวอาจสูงถึง 50-60%
การรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำมูก และยากระตุ้นอยากอาหาร
การป้องกัน : การทำวัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ ร่วมกับการมีสุขอนามัยที่ดี
การควบคุมโรคของระบบทางเดินหายใจ
ทำ วัคซีน ซึ่งจะช่วยลดอาการของโรค และลดปริมาณเชื้อไวรัสที่แมวปล่อยออกมา ป้องกันไม่ให้แมวสัมผัสกันโดยตรง ดูแลเรื่องความสะอาด เช่น ล้างมือก่อนจะสัมผัสแมว ให้หย่านมลูกแมวตั้งแต่อายุ 4-5 สัปดาห์ (ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกแมวจะเริ่มไวต่อการติดเชื้อ เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่เริ่มลดลง) และแยกลูกแมวไปเลี้ยงต่างหาก ไม่ให้ปะปนกับแมวอื่นๆในบ้าน จนกว่าจะทำวัคซีนเข็มสุดท้ายไปแล้วอย่างน้อย 3 สัปดาห์

โรคมะเร็งของเม็ดเลือดในแมว
เป็นโรคที่สำคัญที่ทำให้ แมวเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในแมวอายุน้อย เชื้อไวรัสจะไปกดภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดมะเร็งหลายรูปแบบและกดไขกระดูกทำให้พบกลุ่มอาการเกี่ยวกับการสร้าง เม็ดเลือด เช่น โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวลดลง มีเกล็ดเลือดผิดปกติ แมวอาจแสดงอาการหลังจากการติดเชื้อนี้เป็นเวลาหลายปี แมวบางตัวสามารถกำจัดเชื้อและหายจากโรคนี้ แต่ถ้ามีการติดเขื้อถาวรแมวจะเสียชีวิต แมวที่อ่อนแอหรือเจ็บป่วยอาจจะเป็นโรคนี้ได้ ติดต่อผ่านทางน้ำลาย เช่น แต่งขนให้กัน (โดยแมวอาจได้รับเชื้อผ่านทางปาก จมูกและตา) นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อผ่านรกและน้ำนม ตลอดจนถึงการให้เลือด
การรักษา : ให้การรักษาตามอาการ เพื่อลดอาการของโรคและยืดอายุแมวป่วยออกไป
การป้องกัน : ลดการสัมผัสเชื้อนี้ในแมว และทำวัคซีนให้แมวทุกตัว

โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อ
เกิดจาก เชื้อไวรัส ทำให้เกิดโรคที่รุนแรงถึงชีวิต แมวจะได้รับเชื้อติตต่อทางช่องปากและจมูกจากการสัมผัสน้ำลายหรืออุจจาระของ สัตว์ป่วย หรือสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ เช่น ชามอาหาร ที่นอน กระบะทราย โรคนี้มักพบบ่อยในแมวรุ่นระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี การสัมผัสเชื้อครั้งแรกจะไม่ทำให้เกิดอาการเด่นชัด อาจะพบปัญหาระบบทางเดินหายใจส่วนต้น จาม น้ำมูกน้ำตาไหล หรือท้องเสีย อาการหลักมี 2 แบบคือแบบเปียก และแบบแห้ง ส่วนใหญ่จะพบแบบเปียก หรืออาจจะพบอาการทั้งสองแบบเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันก็ได้
อาการแบบเปียก : มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ท้องเสีย และซีด มีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องและเยื่อหุ้มปอด มีการสะสมของของเหลวภายในช่องท้อง ท้องขยายใหญ่ แต่ไม่แสดงอาการเจ็บปวด แมวป่วยอาจมีอาการหายใจลำบาก และไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาปฏิชีวนะ
อาการแบบแห้ง : มีอาการซึม น้ำหนักลด โลหิตจางและเป็นไข้เกิดจากเชื้อไวรัสแบ่งตัวอย่างช้าๆทำให้มีการอักเสบแบบ เรื้อรังอาการจะขึ้นกับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบนี้ (เช่น อวัยะวะภายใน ตา ไต ปอด และระบบประสาท เป็นต้น)
การติดต่อ : การกิน การหายใจ และการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนจากอุจจาระแมวที่มีเชื้อนี้
การรักษา : ทำได้ยาก ใช้วิธีการรักษาตามอาการให้ยากดภูมิ ยาลดการอักเสบ
การจัดการ : ลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสระหว่างแมวลงปฏิบัติตามสุขอนามัยอย่างเคร่ดครัดร่วมกับการทำวัคซีนนี้จะช่วยลดการเกิดของโรคนี้ในฝูงแมวลง

โรคพิษสุนัขบ้า
เกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ระบบประสาท ติดต่อโดยการสัมผัสน้ำลาย สัตว์เลี้ยงทุกตัวที่แสดงอาการของโรคจะเสียชีวิต ไม่มีทางรักษาหาย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดรวมทั้งมนุษย์ สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้

 

อ่านบทความสัตว์เลี้ยง สุนัข หมา แมวเพิ่มเติมได้ที่นี้